A day in life at Mahidol salaya

Downloads: Views: 21700

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โครงการ ทำดี เพื่อพ่อ

โครงการ  ทำดี  เพื่อพ่อ    5  ธันวา  มหาราช


          RT e-Learning Center  โดย รศ.พิชิต  ตรีวิทยรัตน์  และ รศ.พญ.วรรณา  ตรีวิทยรัตน์  ได้ปรับปรุงและ UPDATE    BLOG ที่มีชื่อว่า   BEAUTY  SKIN  มาทำเป็น  SIMPLE  e-Learning  อย่างเร่งด่วน ให้กับนักศึกษารังสีเทคนิคจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นที่ 9 ในวิชากายวิภาคศาสตร์  ( ANATOMY FOR RADIOLOGICAL HECHNOLOGY )  เป็นวิชาแรกก่อน  โดยมีวัตถุประสงค์ที่แจ้งให้น้อง ๆ  ผู้เรียนทุกคนทราบตามอีเมลดังนี้


หลายเหตุผลที่ต้องใช้การเรียนด้วย  SIMPLE  e-Learning มาเสริมด่วน  ก่อน

ที่จะสายเกินไป

1.     เป็นการทบทวนบทเรียนสำหรับผู้ที่เข้าเรียนสม่ำเสมอ  ( มีประมาณ ครึ่งห้อง ) 

2.        เป็นการทำ  PRE-TEST  และ POST-TEST เพื่อเช็คความรู้ของผู้เรียนโดยไม่ต้องรบกวนเวลาเรียน ซึ่งปกติจะมีเวลาคาบละ 2 ชั่วโ พอมาทำ PRE - TEST ก็ใช้เวลาไปกว่า 30 – 40 นาที  ครั้นจะทำ  POST – TEST ต่อก็ใช้เวลามากกว่า  เพราะต้องเฉลยด้วย  เลยไม่มีเวลาสอนพอดี  แต่ถ้าย้ายออกไปทำที่บ้าน  ก็จะไม่ต้องมากินเวลาตรงนี้

     ผู้เรียนยังสามารถฝึกซ้อมสิ่งที่ตนเองไม่เข้าใจ  หรือตอบไม่ตรงคำถาม
ทำให้มีเวลาฝึกซ้อมก่อนทำข้อสอบจริง  ซึ่งการเรียนปกติจะไม่มีแบบนี้พอ

เรียนจบแต่ละวิชา  ก็สอบเลย  พอคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์  ก็จะต้องซ้ำชั้น
3.       สำหรับ ผู้ที่เข้าเรียนสม่ำเสมอ  ( มีประมาณ ครึ่งห้อง ) ถ้าบางเสาร์-อาทิตย์ที่มีปัญหาไม่สบาย หรือมีธุระจำเป็นมาก  ๆ  ก็สามารถเรียนทางนี้ต่อได้  เพราะถ้าขาดหนึ่งเสาร์  ก็คือ หายไป 8 ชั่วโมงของ ANATOMY  เลย  แต่ถ้ามีวิธีนี้  ก็สามารถช่วยต่อให้ติดได้
4.       การเรียนปกติ  ผู้เรียนแต่ละวิชาต้องมีเวลาเรียนอย่างน้อย  80%  ได้ปรึกษา รศ.ชัชวาลย์ แล้ว  ให้หัวหน้าเช็คชื่อทุกครั้ง  ครั้งแรกได้ใช้วิธีถ่ายรูป แล้วเช็คกับรูปที่อาจารย์ส่งมา 
     แต่ถ้าใช้วิธีนี้ร่วมกับการเรียนปกติแล้ว  มหาวิทยาลัยที่เป็น  Open University  สามารถคิดเวลาการเรียนทางไกลที่เป็น SIMPLE e-Learning เป็นการเทียบเท่ากับการเรียนในห้องเรียนปกติได้  ถ้าคณาจารย์ทางรามคำแหงเห็นว่ามีคุณภาพพอ ก็อาจจะอนุโลมได้ตามสมควร
5.        ถ้า  ผู้ที่เข้าเรียนสม่ำเสมอ  ( มีประมาณ  ครึ่งห้อง ) หรือ ห้าสิบคน เรียนผ่านไปได้โดยวิธีปกติ  พอผ่านไป หนึ่ง ปี  ขึ้นปีที่ สอง  ก็จะต้องหยุดเรียน หนึ่งปี  เพราะถ้าผู้เรียนไม่ถึง แปดสิบคน ขึ้นไป  ทางมหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็เปิดสอนไม่ได้  เพราะไม่คุ้มทุน  ผู้เรียนก็จะต้องเรียน หนึ่งปี  และหยุดเรียน หนึ่งปี  เพื่อรอจำนวนสะสมของรุ่นต่อไป ให้ครบ แปดสิบคน ( คือรอให้คุ้มทุนก่อน ) เพราะฉะนั้น  กว่าจะจบ ก็ปาเข้าไป หกปี  พอดี  และถ้ายาวขนาดนั้น  คนที่ร่วมเรียนด้วยกันอาจจะรอไม่ไหว ก็อาจจะเลิกเรียนกลางคันไปอีก  คนที่เรียนอยู่ก็แก้ปัญหาเองไม่ได้  เพราะผูกกับตัวเลข แปดสิบคน นอกจากยอมเสียค่าเทอมเพิ่มขึ้น เพื่อเฉลี่ยกับจำนวนคนที่ลดลง ( ข้อนี้ต้องไปทำการตกลงกับมหาวิทยาลัยเอง ว่าจะทำแบบนี้ได้หรือเปล่า
     เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม  ต้องไปดึงเพื่อน ๆ ที่เรียนบ้าง ไม่เรียนบ้าง มาเรียนให้ครบ  และพยายามสอบให้ผ่านอย่างน้อย เก้าสิบคน ขึ้นไป
     หมายความว่า  รุ่นนี้ลงทะเบียนไว้  เก้าสิบหก คน  ทุกคนที่มาเรียนต้องทำงานเป็นทีม  คือ ทุกคนมีหน้าที่ไปกระตุ้นคนที่ไม่มาเรียนให้มาเรียนด้วยวิธีนี้  จะได้มีจำนวนคนเรียนยังคงอยู่อย่างน้อย  แปดสิบคน  เพื่อจะได้เปิดคอร์สต่อไปได้
     สรุป ลงทะเบียน  เก้าสิบหก คน 
     จบปีที่ หนึ่ง  ต้องผ่านอย่างน้อย เก้าสิบคน ( แปดสิบห้า ก็ยังได้ )
     จบปีที่ สอง  ต้องผ่านอย่างน้อย แปดสิบห้าคน ( แปดสิบ ก็ยังได้ )
     จบปีที่ สาม  ผ่านกี่คนก็ได้ครับ ถื่อว่าจบแล้ว  ก็ไปรอสอบใบประกอบโรคศิลปะอย่างเดียวต่อไป
     อย่างนี้รอดตัวครับ  เรียกว่า  น้ำพี่งเรือ  เสือพึ่งป่า  
     ถ้าแต่ละคน เรียนเพื่อเอาตัวรอดคนเดียว  ทุกอย่างก็จบตั้งแต่ปีที่ หนึ่งครับ  จะไม่มีบัณฑิตจบภายใน สาม ปี แม้แต่คนเดียวครับ  เชื่อผมเถิด วิธีที่ผมเสนอ  WORK ครับ
     ผมใช้มาแล้วตอนเรียนที่ TCU  วิธีทำให้ผู้เรียนจบมากขึ้น  และอาจารย์กำหนดไว้ คอร์ส ละ สามสิบ คน ต่ำกว่านี้ไม่เปิด  ผมก็ไปเก็บผู้เรียนมาจนเกิน และติวทุกคนที่เรียนด้วยกันให้ผ่าน เพื่อจะไปเรียนคอร์สต่อไป  จนจบทุกคน  เพราะทุกคนไม่ได้หวังเกียรตินิยม  แต่ทุกคนอยากได้ความรู้ไปใช้  แต่เวลาเรียนไม่ค่อยมี  และบางคน ( ส่วนใหญ่ ) เรียนแล้วไม่ค่อย  GET   วิธีนี้ไปพูดในงานประชุม อีเลิร์นนิ่งของ  WUNCA  ที่ ม.มหิดล ปี 54 ใช้ชื่อว่า  พี่หมอโมเดล
6.       ผู้ที่เข้าเรียนสม่ำเสมอ  ( มีประมาณ  ครึ่งห้อง ) ถ้าขยันมาเรียน  แล้วสอบไม่ผ่านครั้งแรก  ก็จะหมดกำลังใจ  แต่ถ้าเรียนเสริมด้วยวิธีนี้ โอกาสที่จะผ่านค่อนข้างมีสูงมาก  เพราะข้อสอบที่จะออกก็อยู่ในบทเรียน  และผู้เรียนก็ได้ซ้อมทำมาตลอด ( ยกเว้นคนเกียจคร้าน เพราะถ้ามีให้ทำถึงบ้าน แล้วยังไม่ทำ ก็ไม่รู้จะช่วยอย่างไรแล้ว )
     และถ้ามาคิดถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องเรียนซ้ำในวิชานั้นในปีหน้า  ลองคิดเอาค่าลงทะเบียนบวกค่าเดินทางแต่ละอาทิตย์บวกค่าที่พักบวกค่าอาหาร คิดไปคิดมาเพียงวิชาเดียว ก็เกินหมื่นบาทแล้วในแต่ละคน  และยังไม่คิดเวลาที่เสียไป  กับเวลานั้นถ้าไปอยู่เวรจะได้สตางค์อีกเท่าไหร่  คิดแค่นี้ก็กลุ้มแล้วครับ  เพราะฉะนั้น  คิดไปคิดมาเสียน้อยเสียยาก  เสียมากเสียง่ายครับ
7.    การลงทุนครั้งนี้ได้ถึง  สามวิชา  คือ 
     ANATOMY  3 หน่วยกิต  ในเทอมนี้
     HPC   3  หน่วยกิต  ในเทอมหน้า
     TOPOGRAPHIC  ANATOMY  2 หน่วยกิต  ในเทอมหน้า
ลงทุน  60,000    เฉลี่ยค่าเช่าเครื่อง ค่าเช่าเวลา ค่าคนทำ ( แอดมิน ) ต่อหนึ่งครั้ง ( ที่ได้ราคานี้เพราะไปเฉลี่ยกับพยาบาลเกื้อการุณ )
ไม่ได้คิดค่าวิชาและค่าทำของอาจารย์เลย
ปกติ  คอร์สอีเลิร์นนิ่ง  แต่ละหน่วยกิตในมหิดลก็ตกกว่าหน่วยกิตละสองพันมากขึ้นไป 
ถ้าเป็นวิทยาลัยนานาชาติก็เรียนกันเป็นหลักสูตรหนึ่งปี ล้านบาทต่อคนขึ้นไป
สรุป
ลงทุน  60,000    หาร 96 คน  = คนละ  625  บาท
625 หาร  3  วิชา  =  วิชาละ  208.333 บาท
625 หาร 3 + 3 + 2 = 8  หน่วยกิต  = หน่วยกิตละ  78.125 บาท
ถูกอย่างนี้  ไม่มีที่ไหนทำได้อีกแล้ว  ถูกกว่าค่าซีร็อคชีทแต่ละวิชาอีก
โอกาสนี้มีครั้งเดียว  หมดโปรโมชั่นแล้วหมดเลยครับ

          ขนาด รศ.ชัชวาลย์ บอกว่าผมในที่ประชุมประเมินสถาบันของมหิดลเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา  ขอรูปของฝรั่งหนึ่งรูป  เขาคิดรูปละหกสิบกว่าเหรียญ  ถ้ามี  เลเบล  แต่ละจุด  เพิ่มเงินต่างหากครับ
     สำหรับปีหน้า ค่อยคิดเรื่อง การเรียนการสอน e-Learning แบบเต็มรูปแบบอีกที  เพราะแต่ละวิชาที่แขวนไว้เป็นลิขสิทธิ์ของผู้สอน  นอกจากมหาวิทยาลัยจะจ้างทำ ( ปกติ TCU ให้ค่าทำชั่วโมงละ 10,000 บาท  1 หน่วยกิต เท่ากับ  18 ชั่วโมง  รวม PRE-TEST  และกิจกรรมเดี่ยว , กิจกรรมกลุ่ม ก็ปาไปวิชาละ  300,000  บาท  พอดี ) ถึงจะแขวนประจำที่มหาวิทยาลัยได้ครับ
     เทอมนี้  แค่คิดให้ทุกคน ( อย่างน้อย เก้าสิบคน ) เรียนให้ผ่าน ก็ปวดหัวตายแล้วครับ    
วันนี้มาเล่า  พอ ขำ  ๆ  นะครับ
จากพี่หมอ

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผมสามารถทำคอร์สออนไลน์ จากความฝัน ให้เป็นจริงได้ ที่ TCU

     พอผมมาเรียนคอร์สนี้  ก็เกิดความคิดว่า  ผมในฐานะผู้เรียน  สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับรายวิชาในหลักสูตรของวิชาชีพรังสีเทคนิคที่มีปัญหาอยู่ทั้ง  ๗  สถาบันได้  ดังนี้
    
เริ่มต้นด้วย  ผมจะต้องเป็นผู้สอนออนไลน์  ก็เริ่มปรับปรุงโดย
     
     -  ด้านศาสตร์การสอน  ได้จัดการสร้างรายวิชาที่ผมเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพรังสีเทคนิค  โดยเฉพาะหมวดวิชาพื้นฐาน  เช่น  
          วิชากายวิภาคศาสตร์     วิชากายวิภาคปกติทางรังสี  ฯลฯ มี  PDF  ไฟล์  ,  มี  e-Book  ,  มี  POWER  POINT  ฯลฯ                 
          การประเมิน  ก็มี  เตรียมการประเมินด้วยบททดสอบก่อนเรียน  และ  หลังเรียน    
          การจัดกิจกรรมอื่น  ๆ  เช่น  มี  กระดานสนทนา 
    
     -  ด้านทักษะการใช้คอมพิวเตอร์  และเทคโนโลยี่  เริ่มใช้ระบบ  OPEN  SOURCE  ทั้งหมด  ได้ไปอบรมศึกษาใหม่หมด 
-          ตั้งแต่ระบบปฏิบัติการ 
-          ระบบการสร้างภาพด้วย  GIMP  
-          ระบบจัดการ  CONTENT  MANAGEMENT  SYSTEM  ด้วยโปรแกรม  DRUPAL 
-          ระบบจัดการ  LEARNING  MANAGEMENT  SYSTEM  ด้วยโปรแกรม MOODLE 
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของโปรแกรม  SOFTWARE  ทั้งหมด 

ผู้สอนออนไลน์   เป็นทั้ง  ADMINISTATOR  ไปในตัว  เพราะบุคลากรมีจำกัดมาก

     -  ด้านการจัดการ  เริ่มด้วย  การเตรียมเครื่องที่จะเป็น  SERVER  แล้วลงโปรแกรม  MOODLE  แล้วใส่รายวิชา  ใส่กิจกรรมต่าง  ๆ  ลงไป  ใส่รายชื่อของนักศึกษาแต่ละสถาบัน  ใส่  PASSWORD  แจ้งกำหนดเวลาเปิดและสิ้นสุดในแต่ละรายวิชา  ฯลฯ
    
     หลังจากนั้น  เราก็จะลองทดสอบทั้งระบบ  โดยเอานักศึกษามาลองเรียน  และ  ทำกิจกรรมต่าง  ๆ  เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง  จนได้ระบบที่ค่อนข้างสมบูรณ์
    
     เพราะฉะนั้น  เปิดเทอมใหม่เดือนพฤษภาคม  ๒๕๕๔  นี้  ผมก็เริ่มต้นเป็นผู้สอนออนไลน์ในห้องเรียนออนไลน์ที่ทำขึ้นเองครั้งแรกของผมในรายวิชาที่เคยสอนอยู่แล้วครับ

     ขอขอบคุณ  คณาจารย์ทุกท่าน  ที่ได้ให้ความรู้  จนสามารถทำให้เกิดเป็นรูปธรรมของห้องเรียนออนไลน์ในฝันขึ้นมาในชีวิตจริงได้ครับ

สวัสดีครับ  จากพี่หมอ  p0119  tcu

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

"ช่วยกันคิด กิจกรรมละลายพฤติกรรมผู้เรียนออนไลน์"

                   "ช่วยกันคิด กิจกรรมละลายพฤติกรรมผู้เรียนออนไลน์"

แต่ที่จะให้ข้อสังเกตคือ กิจกรรมช่วยกันคิดเทคนิคการละลายพฤติกรรมผู้เรียน มีผู้เรียนจำนวนน้อยนะคะ ที่จะคิดกิจกรรมเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ส่วนใหญ่ก็จะตอบโดยอาศัยประสบการณ์ที่เคยเรียนจากหลักสูตร ePro มาตอบกัน แต่วันหนึ่งเมื่อท่านเป็นผู้สอนออนไลน์จริงๆ กับผู้เรียนทางไกล (ที่อยู่กันคนละที่คนละทาง) กิจกรรมนี้คงเป็นกิจกรรมสำคัญและช่วยสร้างสรรค์ชุมชนการเรียนรู้ได้มากที เดียวค่ะ ก็ขอฝากไว้ด้วยค่ะ หรือผู้สอนออนไลน์ที่จะเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสานก็อาจจะคิดเกมกิจกรรมออ นไลน์เพื่อช่วยเพิ่มสีสันให้กับการเรียนได้และสอดคล้องกับเนื้อหาสาระก็ได้ ค่ะ

อาจารย์  ได้ให้โจทย์มาว่า  น่าจะคิดกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน  ผมก็เลยลองทำเป็นครั้งที่  ๒   โดยเพิ่มเติมกิจกรรม  และอธิบายขั้นตอนที่ควรทำว่า มีกิจกรรมอะไรที่ช่วยละลายพฤติกรรมผู้เรียนออนไลน์
          จากสัปดาห์แรก  เริ่มมีการเรียน  มีการแนะนำตัวผู้เรียนแต่ละคน  ผมคิดว่า  ผู้สอนควรจะกำหนดรูปแบบของการแนะนำตัวให้ชัดเจน  เช่น
          มี  -  ชื่อ  นามสกุล 
               -   สถาบันที่จบ
               -  สถานที่ทำงาน
               -  รูปภาพที่ชัดเจน  ตรงตำแหน่งรูปภาพนี้สำคัญมาก  เพราะเราไม่เห็นตัวตนของเพื่อน  ๆ  และยังไม่มีรูปภาพอีก  ทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่า  ผู้ที่เรากำลังสนทนาออนไลน์อยู่มีหน้าตาอย่างไร  วิธีแก้  รูปตรงนี้ควรจะเป็นรูปที่ผู้สอนติดให้  ไม่ใช่ให้ผู้เรียนโพสต์กันเอง  ตอนเรียนตอนแรกรูปก็ยังอยู่   พอเรียน  ๆ  ไปรูปถูกถอดออกไป
                -  เบอร์อีเมลล์ที่ติดต่อได้ 
ตรงส่วนนี้ทั้งหมด  ทาง  TCU  ได้ทำประวัติไว้  แต่พอเรียนไปสักพักหนึ่ง  บางคนก็ล็อคไว้  ทำให้เข้าดูไม่ได้  วิธีแก้  ตรงนี้  ทาง  TCU  ควรจะทำเอง  ไม่ควรให้ผู้เรียนไปทำ  ผู้เรียนสามารถเข้าไปดูได้
          ผมให้ความสำคัญตรงนี้มาก  เพราะเราไม่สามารถคุยกับใครก็ไม่รู้  และยังต้องทำกิจกรรมกลุ่มอีกหลายครั้ง  ถ้าไม่มีข้อมูลอะไรเลย  เวลาทำกิจกรรม  แล้วหายตัวไป  ไม่รู้ไปตามที่ไหน  
           เมื่อผู้เรียนทุกคนแนะนำตัวเอง    เมื่อเราเขียน  และโพสต์รายละเอียดที่แสดงตัวตน  และ  สถานะ  รวมทั้ง ที่อยู่  หรือที่ทำงานที่แท้จริง  ของเราลงไป  เพื่อน   ที่เป็นผู้อ่านจะได้เกิดความเชื่อมั่นว่า  ผู้ที่เรียนร่วมกับเขา  มีลักษณะเป็นอย่างไร  น่าเชื่อถือหรือไม่  เพราะการเรียนอีเลิร์นนิ่ง  เป็นการเรียนที่ไม่สามารถพบมิติหรือตัวตนจริงได้  ทำได้แค่พบกับ  มิติเสมือน  (  Virtual  image  )  บางครั้ง  เราก็คบแบบฉาบฉวย  แค่ผ่าน   ไป  แต่บางคน  พอเรียนไปเรียนมา  ก็กลายเป็นมิตรแท้กันไปเลย    
          หลังจากที่เพื่อน   เริ่มรู้จักกัน  การทำงานในลักษณะต่าง   เช่นกิจกรรมเดี่ยว  หรือ กิจกรรมกลุ่มเริ่มง่ายขึ้น
                กิจกรรมเดี่ยว   ที่ต้องการให้เพื่อน   เข้าไป  Comment  เริ่มมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
                กิจกรรมกลุ่ม   ที่ต้องการความร่วมมือของหลายคน  ก็สำเร็จลงด้วยดี  

สิ่งที่ช่วยเพิ่มกิจกรรมละลายพฤติกรรมในระบบออนไลน์  ก็คือ
-          เบอร์  e-mail  ที่ใช้ติดต่อระหว่างกัน
-          กระดานสนทนา  ที่ใช้เขียนข้อความต่าง  ๆ
-          กระทู้ที่ใช้ส่งกิจกรรม  และ  เพื่อน  ๆ  สามารถใช้วิพากย์กิจกรรมของเพื่อน  ๆ  ได้
ส่วนที่เพิ่มเติม  เช่น
               -   ใช้โทรศัพท์พูดคุยปรึกษากันเวลาทำกิจกรรมกลุ่ม
               -   ใช้  FAX  ส่งจดหมาย  เวลาส่งเมลล์  และ  โทรศัพท์ไปแล้วไม่มีใครรับสาย
          -  บางคนก็ใช้ส่ง  sms  ซึ่งผมก็ได้รับบ่อย  เวลาทำการบ้านแล้วมีปัญหา  แล้วไปโพสต์ข้อความลงในกระทู้  เพื่อน  ๆ  ที่รู้เบอร์โทรศัพท์ของผมก็จะส่ง  sms  มาช่วยแก้ปัญหาให้
สิ่งที่ผมคิดว่าจะละลายพฤติกรรมได้เร็วที่สุด  ก็คือ  การเป็นผู้ให้  ถึงแม้เขาจะไม่เห็นตัวเรา  แต่การกระทำอันส่อเจตนา  เขาก็จะตัดสินใจเองว่าจะคบเราดีหรือไม่  ถ้าคบแล้ว  เขาไม่มีอะไรเสีย  มีแต่ได้  เขาก็น่าจะยินดีที่คบกับเราต่อไป
ที่พูดมา  เป็นการเสนอแนะในระบบออนไลน์  คือไม่สามารถพบกันได้เลย
แต่ถ้าเป็นกลุ่มที่อยู่ในกรุงเทพ  หรือสามารถเดินทางเข้ามาได้  ผมก็จะนัดทานข้าวกัน  เช่น  มาที่โรงพยาบาลศิริราช  มาถวายพระพรในหลวงของเรา  และ  ถือโอกาสทานส้มตำ  น้ำตกสีดาด้วยกัน  และนัดสังสรรกันทุกครั้งที่จบการเรียนแต่ละคอร์ส  จนบัดนี้มีสมาชิกเกือบ  ๒๐  คนแล้ว
          สำหรับรอบนี้  ขอเสนอข้อมูลที่เป็นรูปธรรมแบบ  ขำ  ๆ  แค่นี้ก่อนนะครับ
สวัสดีครับ  จากพี่หมอ  p0119  tcu

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เครื่องมือต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประกอบ blog จาก Web 2.0

เครื่องมือชิ้นที่  ๓  ขอแนะนำ  GADGET

          จริง  ๆ  แล้วเครื่องมือที่วางอยู่บน  Desktop  หรือ  Sidebar  ของจอ 

Yahoo  เรียกว่า  Widget   ส่วน  Google  เรียกว่า  Gadget

          สรุป  ก็คือ  Software  หรือ  ชุดคำสั่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก  หรือ 

โปรแกรมสำหรับการควบคุมในการทำงาน  ของเครื่องคอมพิวเตอร์ในแบบต่าง  ๆ  เช่น 

หน้าต่าง เล็ก  ๆ  (  Windows/popup  )  เพื่อให้คนที่ต้องการใช้สามารถควบคุมให้

เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการในรูปแบบต่าง  ๆ  เช่น  เครื่องคิดเลข  ปฏิทิน 

ฯลฯ  โดยใช้ปุ่มคำสั่งด้วยเมาส์แทนการพิมพ์ชุดคำสั่ง  เพื่อสั่งงานให้โปรแกรมย่อย  ๆ 

ทำงาน 

วันนี้ขอแนะนำ  ขำ  ๆ  เท่านี้ก่อนนะครับ

สวัสดีครับ  จากพี่หมอ  p0119  tcu

เครื่องมือต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประกอบ blog จาก Web 2.0

เครื่องมือชิ้นที่  ๒  ขอแนะนำ  FEEDJIT

          FEEDJIT  เราหาได้จาก  www.feedjit.com

          เวลาเราทำ  blog  เราอยากจะรู้ว่ามีใครมาเยี่ยมชม  blog  ของเราบ้าง  เราก็จะติด  

 feedjit  เข้าไปใน  blog  ของเรา      Feedjit  จะเป็นกล่องที่โชว์รายละเอียดของ  Live  

traffic     Feed  ว่ามีใครเข้ามาดู  blog  ของเรา  วันก่อน  ตื่นเต้นมาก  มีคนแวะเข้ามา  

จากอเมริกา  จากอลาสก้า  จากธิเบต  ทำให้เราต้องกลับมานั่งคิดใหม่ว่า  นี่เราเพิ่งหัดทำ

เล่น  ๆ  ยังหาปุ่มเพื่อทำกิจกรรมต่าง  ๆ  ใน  blog  ยังไม่คล่องเลย  ลูกค้าก็แวะมาทักทาย  

และ  เยี่ยมเยียนกันแล้ว    ทำให้เราคิดหนักไปถึงเรื่องลิขสิทธิ์ในข้อที่  ๑  ว่า    เราจะ

ไปละเมิดของเขาหรือเปล่า  ตอนนี้เวลาเขียนแต่ละบทความก็เลยค่อนข้างเกร็งไปหมด  

ก่อนจะกดปุ่ม  เผยแพร่บทความ  ต้องดูแล้วดูอีก  บางครั้งประสาทหลอน  ต้องกลับมา

ลบบทความในเรื่องของ  RT  E-LEARNING  ไปหนึ่งเรื่อง 

          สรุป  feedjit  จะมีให้เลือก  ๓  แบบ  คือ  

               ๑.  Feedjit  Completely  Free   คือ  ไม่ต้องเสียสตางค์

               ๒.  Feedjit  Advanced    Free  10  day  trial  คือ  ฟรีแค่  ๑๐  วันแรก 

อันนี้เหมาะสำหรับ  ส่วนบุคคล  เขาคิด  ๔.๙๕  เหรียญ  ต่อเดือน    

               ๓.   Feedjit  Pro   Free  10  day  trial  คือ  ฟรีแค่  ๑๐  วันแรก  อันนี้

เหมาะสำหรับ  Pro  Blogger และ  Web  masters เขาคิด  ๙.๙๕  เหรียญ  ต่อเดือน    



               FEEdJIT  เหมาะสำหรับเก็บข้อมูลในระดับโดเมน  

เช่น  http://www.propichit.blogspot.com  

แต่ถ้าเป็น  ข้อมูลระดับย่อย  ๆ  อย่าง  ซับโดเมน  (  Subdomain  ) 

ก็จะไม่ละเอียดพอ 


วันนี้ขอแนะนำ  ขำ  ๆ  เท่านี้ก่อนนะครับ


สวัสดีครับ  จากพี่หมอ  p0119  tcu


                 

เครื่องมือต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประกอบ blog จาก Web 2.0

เครื่องมือชิ้นที่  ๑  ขอแนะนำ  ครีเอทีฟคอมมอนส์

          เครื่องมือนี้  เราหาได้จาก  http://cc.in.th  =  ครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย  เมื่อเปิดเข้าไปดูแล้ว  จะพบรูปแบบอยู่  ๓  แบบด้วยกัน  ผมเลือกรูปแบบที่วางไว้ด้านล่างสุด

การใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์  และ  เผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี 

การใช้สัญญาอนุญาตกับงานของคุณ

๑.  อนุญาตให้นำงานของคุณไปใช้เพื่อการค้าหรือไม่  ?

     ข้อนี้มี  ๒  ตัวเลือก  คือ  ใช่  กับ  ไม่ใช่  .

๒.  อนุญาตให้แก้ไขดัดแปลงงานของคุณหรือไม่  ?

    ข้อนี้มี  ๓  ตัวเลือก  คือ  ใช่  ,  ใช่  แต่มีข้อแม้ว่า  ตราบเท่าที่ผู้อนุญาตแบบเดียวกัน  กับ

ไม่ใช่  .

๓.  เขตอำนาจศาลสำหรับสัญญาอนุญาตของคุณ  เช่น  ผมเลือกเฉพาะ  ประเทศไทย  แต่

บางคน  อาจจะเลือก  ทั้งหมด  คือ  ทั่วโลกก็ได้  ถ้ามีปัญญาทำได้ครับ

วันนี้ขอแนะนำ  ขำ  ๆ  เท่านี้ก่อนนะครับ

สวัสดีครับ  จากพี่หมอ  p0119  tcu