A day in life at Mahidol salaya

Downloads: Views: 21700

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โครงการ ทำดี เพื่อพ่อ

โครงการ  ทำดี  เพื่อพ่อ    5  ธันวา  มหาราช


          RT e-Learning Center  โดย รศ.พิชิต  ตรีวิทยรัตน์  และ รศ.พญ.วรรณา  ตรีวิทยรัตน์  ได้ปรับปรุงและ UPDATE    BLOG ที่มีชื่อว่า   BEAUTY  SKIN  มาทำเป็น  SIMPLE  e-Learning  อย่างเร่งด่วน ให้กับนักศึกษารังสีเทคนิคจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นที่ 9 ในวิชากายวิภาคศาสตร์  ( ANATOMY FOR RADIOLOGICAL HECHNOLOGY )  เป็นวิชาแรกก่อน  โดยมีวัตถุประสงค์ที่แจ้งให้น้อง ๆ  ผู้เรียนทุกคนทราบตามอีเมลดังนี้


หลายเหตุผลที่ต้องใช้การเรียนด้วย  SIMPLE  e-Learning มาเสริมด่วน  ก่อน

ที่จะสายเกินไป

1.     เป็นการทบทวนบทเรียนสำหรับผู้ที่เข้าเรียนสม่ำเสมอ  ( มีประมาณ ครึ่งห้อง ) 

2.        เป็นการทำ  PRE-TEST  และ POST-TEST เพื่อเช็คความรู้ของผู้เรียนโดยไม่ต้องรบกวนเวลาเรียน ซึ่งปกติจะมีเวลาคาบละ 2 ชั่วโ พอมาทำ PRE - TEST ก็ใช้เวลาไปกว่า 30 – 40 นาที  ครั้นจะทำ  POST – TEST ต่อก็ใช้เวลามากกว่า  เพราะต้องเฉลยด้วย  เลยไม่มีเวลาสอนพอดี  แต่ถ้าย้ายออกไปทำที่บ้าน  ก็จะไม่ต้องมากินเวลาตรงนี้

     ผู้เรียนยังสามารถฝึกซ้อมสิ่งที่ตนเองไม่เข้าใจ  หรือตอบไม่ตรงคำถาม
ทำให้มีเวลาฝึกซ้อมก่อนทำข้อสอบจริง  ซึ่งการเรียนปกติจะไม่มีแบบนี้พอ

เรียนจบแต่ละวิชา  ก็สอบเลย  พอคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์  ก็จะต้องซ้ำชั้น
3.       สำหรับ ผู้ที่เข้าเรียนสม่ำเสมอ  ( มีประมาณ ครึ่งห้อง ) ถ้าบางเสาร์-อาทิตย์ที่มีปัญหาไม่สบาย หรือมีธุระจำเป็นมาก  ๆ  ก็สามารถเรียนทางนี้ต่อได้  เพราะถ้าขาดหนึ่งเสาร์  ก็คือ หายไป 8 ชั่วโมงของ ANATOMY  เลย  แต่ถ้ามีวิธีนี้  ก็สามารถช่วยต่อให้ติดได้
4.       การเรียนปกติ  ผู้เรียนแต่ละวิชาต้องมีเวลาเรียนอย่างน้อย  80%  ได้ปรึกษา รศ.ชัชวาลย์ แล้ว  ให้หัวหน้าเช็คชื่อทุกครั้ง  ครั้งแรกได้ใช้วิธีถ่ายรูป แล้วเช็คกับรูปที่อาจารย์ส่งมา 
     แต่ถ้าใช้วิธีนี้ร่วมกับการเรียนปกติแล้ว  มหาวิทยาลัยที่เป็น  Open University  สามารถคิดเวลาการเรียนทางไกลที่เป็น SIMPLE e-Learning เป็นการเทียบเท่ากับการเรียนในห้องเรียนปกติได้  ถ้าคณาจารย์ทางรามคำแหงเห็นว่ามีคุณภาพพอ ก็อาจจะอนุโลมได้ตามสมควร
5.        ถ้า  ผู้ที่เข้าเรียนสม่ำเสมอ  ( มีประมาณ  ครึ่งห้อง ) หรือ ห้าสิบคน เรียนผ่านไปได้โดยวิธีปกติ  พอผ่านไป หนึ่ง ปี  ขึ้นปีที่ สอง  ก็จะต้องหยุดเรียน หนึ่งปี  เพราะถ้าผู้เรียนไม่ถึง แปดสิบคน ขึ้นไป  ทางมหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็เปิดสอนไม่ได้  เพราะไม่คุ้มทุน  ผู้เรียนก็จะต้องเรียน หนึ่งปี  และหยุดเรียน หนึ่งปี  เพื่อรอจำนวนสะสมของรุ่นต่อไป ให้ครบ แปดสิบคน ( คือรอให้คุ้มทุนก่อน ) เพราะฉะนั้น  กว่าจะจบ ก็ปาเข้าไป หกปี  พอดี  และถ้ายาวขนาดนั้น  คนที่ร่วมเรียนด้วยกันอาจจะรอไม่ไหว ก็อาจจะเลิกเรียนกลางคันไปอีก  คนที่เรียนอยู่ก็แก้ปัญหาเองไม่ได้  เพราะผูกกับตัวเลข แปดสิบคน นอกจากยอมเสียค่าเทอมเพิ่มขึ้น เพื่อเฉลี่ยกับจำนวนคนที่ลดลง ( ข้อนี้ต้องไปทำการตกลงกับมหาวิทยาลัยเอง ว่าจะทำแบบนี้ได้หรือเปล่า
     เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม  ต้องไปดึงเพื่อน ๆ ที่เรียนบ้าง ไม่เรียนบ้าง มาเรียนให้ครบ  และพยายามสอบให้ผ่านอย่างน้อย เก้าสิบคน ขึ้นไป
     หมายความว่า  รุ่นนี้ลงทะเบียนไว้  เก้าสิบหก คน  ทุกคนที่มาเรียนต้องทำงานเป็นทีม  คือ ทุกคนมีหน้าที่ไปกระตุ้นคนที่ไม่มาเรียนให้มาเรียนด้วยวิธีนี้  จะได้มีจำนวนคนเรียนยังคงอยู่อย่างน้อย  แปดสิบคน  เพื่อจะได้เปิดคอร์สต่อไปได้
     สรุป ลงทะเบียน  เก้าสิบหก คน 
     จบปีที่ หนึ่ง  ต้องผ่านอย่างน้อย เก้าสิบคน ( แปดสิบห้า ก็ยังได้ )
     จบปีที่ สอง  ต้องผ่านอย่างน้อย แปดสิบห้าคน ( แปดสิบ ก็ยังได้ )
     จบปีที่ สาม  ผ่านกี่คนก็ได้ครับ ถื่อว่าจบแล้ว  ก็ไปรอสอบใบประกอบโรคศิลปะอย่างเดียวต่อไป
     อย่างนี้รอดตัวครับ  เรียกว่า  น้ำพี่งเรือ  เสือพึ่งป่า  
     ถ้าแต่ละคน เรียนเพื่อเอาตัวรอดคนเดียว  ทุกอย่างก็จบตั้งแต่ปีที่ หนึ่งครับ  จะไม่มีบัณฑิตจบภายใน สาม ปี แม้แต่คนเดียวครับ  เชื่อผมเถิด วิธีที่ผมเสนอ  WORK ครับ
     ผมใช้มาแล้วตอนเรียนที่ TCU  วิธีทำให้ผู้เรียนจบมากขึ้น  และอาจารย์กำหนดไว้ คอร์ส ละ สามสิบ คน ต่ำกว่านี้ไม่เปิด  ผมก็ไปเก็บผู้เรียนมาจนเกิน และติวทุกคนที่เรียนด้วยกันให้ผ่าน เพื่อจะไปเรียนคอร์สต่อไป  จนจบทุกคน  เพราะทุกคนไม่ได้หวังเกียรตินิยม  แต่ทุกคนอยากได้ความรู้ไปใช้  แต่เวลาเรียนไม่ค่อยมี  และบางคน ( ส่วนใหญ่ ) เรียนแล้วไม่ค่อย  GET   วิธีนี้ไปพูดในงานประชุม อีเลิร์นนิ่งของ  WUNCA  ที่ ม.มหิดล ปี 54 ใช้ชื่อว่า  พี่หมอโมเดล
6.       ผู้ที่เข้าเรียนสม่ำเสมอ  ( มีประมาณ  ครึ่งห้อง ) ถ้าขยันมาเรียน  แล้วสอบไม่ผ่านครั้งแรก  ก็จะหมดกำลังใจ  แต่ถ้าเรียนเสริมด้วยวิธีนี้ โอกาสที่จะผ่านค่อนข้างมีสูงมาก  เพราะข้อสอบที่จะออกก็อยู่ในบทเรียน  และผู้เรียนก็ได้ซ้อมทำมาตลอด ( ยกเว้นคนเกียจคร้าน เพราะถ้ามีให้ทำถึงบ้าน แล้วยังไม่ทำ ก็ไม่รู้จะช่วยอย่างไรแล้ว )
     และถ้ามาคิดถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องเรียนซ้ำในวิชานั้นในปีหน้า  ลองคิดเอาค่าลงทะเบียนบวกค่าเดินทางแต่ละอาทิตย์บวกค่าที่พักบวกค่าอาหาร คิดไปคิดมาเพียงวิชาเดียว ก็เกินหมื่นบาทแล้วในแต่ละคน  และยังไม่คิดเวลาที่เสียไป  กับเวลานั้นถ้าไปอยู่เวรจะได้สตางค์อีกเท่าไหร่  คิดแค่นี้ก็กลุ้มแล้วครับ  เพราะฉะนั้น  คิดไปคิดมาเสียน้อยเสียยาก  เสียมากเสียง่ายครับ
7.    การลงทุนครั้งนี้ได้ถึง  สามวิชา  คือ 
     ANATOMY  3 หน่วยกิต  ในเทอมนี้
     HPC   3  หน่วยกิต  ในเทอมหน้า
     TOPOGRAPHIC  ANATOMY  2 หน่วยกิต  ในเทอมหน้า
ลงทุน  60,000    เฉลี่ยค่าเช่าเครื่อง ค่าเช่าเวลา ค่าคนทำ ( แอดมิน ) ต่อหนึ่งครั้ง ( ที่ได้ราคานี้เพราะไปเฉลี่ยกับพยาบาลเกื้อการุณ )
ไม่ได้คิดค่าวิชาและค่าทำของอาจารย์เลย
ปกติ  คอร์สอีเลิร์นนิ่ง  แต่ละหน่วยกิตในมหิดลก็ตกกว่าหน่วยกิตละสองพันมากขึ้นไป 
ถ้าเป็นวิทยาลัยนานาชาติก็เรียนกันเป็นหลักสูตรหนึ่งปี ล้านบาทต่อคนขึ้นไป
สรุป
ลงทุน  60,000    หาร 96 คน  = คนละ  625  บาท
625 หาร  3  วิชา  =  วิชาละ  208.333 บาท
625 หาร 3 + 3 + 2 = 8  หน่วยกิต  = หน่วยกิตละ  78.125 บาท
ถูกอย่างนี้  ไม่มีที่ไหนทำได้อีกแล้ว  ถูกกว่าค่าซีร็อคชีทแต่ละวิชาอีก
โอกาสนี้มีครั้งเดียว  หมดโปรโมชั่นแล้วหมดเลยครับ

          ขนาด รศ.ชัชวาลย์ บอกว่าผมในที่ประชุมประเมินสถาบันของมหิดลเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา  ขอรูปของฝรั่งหนึ่งรูป  เขาคิดรูปละหกสิบกว่าเหรียญ  ถ้ามี  เลเบล  แต่ละจุด  เพิ่มเงินต่างหากครับ
     สำหรับปีหน้า ค่อยคิดเรื่อง การเรียนการสอน e-Learning แบบเต็มรูปแบบอีกที  เพราะแต่ละวิชาที่แขวนไว้เป็นลิขสิทธิ์ของผู้สอน  นอกจากมหาวิทยาลัยจะจ้างทำ ( ปกติ TCU ให้ค่าทำชั่วโมงละ 10,000 บาท  1 หน่วยกิต เท่ากับ  18 ชั่วโมง  รวม PRE-TEST  และกิจกรรมเดี่ยว , กิจกรรมกลุ่ม ก็ปาไปวิชาละ  300,000  บาท  พอดี ) ถึงจะแขวนประจำที่มหาวิทยาลัยได้ครับ
     เทอมนี้  แค่คิดให้ทุกคน ( อย่างน้อย เก้าสิบคน ) เรียนให้ผ่าน ก็ปวดหัวตายแล้วครับ    
วันนี้มาเล่า  พอ ขำ  ๆ  นะครับ
จากพี่หมอ